Welcome, Guest
Username: Password: Remember me
คอร์สรักษาโรคทางเลือกด้วย ด้วยเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำ แชร์ประสบการณ์การใช้เบต้ากลูแคน

TOPIC: โรครูมาตอยด์ เบต้ากลูแคน มะโฮ กับการรักษาทางเลือก

โรครูมาตอยด์ เบต้ากลูแคน มะโฮ กับการรักษาทางเลือก 9 years 3 months ago #21

  • catsmaho
  • catsmaho's Avatar
  • OFFLINE
  • Administrator
  • Posts: 34
  • Karma: 0
โรครูมาตอยด์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารขึ้นมา แล้วเกิดต่อต้านตัวมันเอง คล้ายลักษณะกับโรคลูปัสหรือเอสแอลอี แต่แตกต่างกันตรงที่โรครูมาตอยด์สารดังกล่าวไปต่อต้านอวัยวะที่สำคัญที่สุดก็คือข้อ โรคนี้พบได้บ่อยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยกลางคน และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรครูมาตอยด์เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และเป็นได้เกือบทุกอายุ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นผู้หญิง อายุ 30-40 ปี สถิติของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในประเทศไทย พบประมาณ 1 ใน 100 คน ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ร้อยละ ของประชากร ผู้ป่วยบางรายปวดมาเป็นปีแล้วเพึ่งมาตรวจ จนกระทั่งโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กินเข้าไปในเนื้อกระดูก ทำให้ข้อหงิกงอผิดรูป

สาเหตุของโรครูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคออโตอิมมูนชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่าโรคภูมิแพ้เนื้อเยื่อตัวเอง ผู้ป่วยมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ โดยเม็ดเลือดขาวสร้างแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อของตนเอง ตัวอย่างคือแอนติบอดีทีมีชื่อเรียกว่า "รูมาตอยด์ แฟคเตอร์"
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ยีนหลายชนิดเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาทิเช่น HLA-DR4 ซึ่งพบมากถึงสองในสามของผู้ป่วยโรคนี้
- การติดเชื้อโรคบางชนิด พบว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารพันธุกรรมในเซลล์ของผู้ป่วย ปัจจุบันมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างกว้างขวางและจะนำมาซึ่งแนวทางการบำบัดรักษาโรคนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- เพศ ผู้หญิงเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มากกว่าผู้ชายหลายเท่า และเมื่อเวลาตั้งครรภ์ อาการของโรคมักจะสงบ หลังคลอดบุตรในช่วงปีแรก อาการของโรคจะกลับมารุนแรงได้อีกครั้ง เชื่อว่าอาจเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง
- ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม พบว่าการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่วนการดื่มชากาแฟ ไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ พบว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่ได้เป็นโรคๆ เดียว แต่เป็นกลุ่มของโรคที่ก่อให้เกิดลักษณะอาการที่เหมือน ๆ กัน ดังนั้นจึงไม่สามารถอธิบายสาเหตุของโรคที่แน่ชัดได้

อาการของโรครูมาตอยด์
- ผู้ป่วยมีอาการปวดตามข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า และมีการอักเสบร่วมด้วย การบวมของข้อ หรือแดงร้อนได้ หรือแค่อุ่นๆ จะรู้สึกได้
- ผู้ป่วยจะมีอาการข้อขัดในเวลาเช้า
- กำมือ หรือเหยียดมือไม่ค่อยได้
- ถ้ารุนแรง กระดูกถูกทำลายไปแล้วถืงขั้นกระดูกหงิกงอ มีการเติบโตของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อในที่สุด
- บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัวได้


แนวทางการรักษาโรครูมาตอยด์
การรักษาโรคเพื่อระงับอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการทำลายของข้อ และช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น สมัยนี้มีการรักษาที่ดี ลดการอักเสบ ลดการบวม ลดการปวด ลดการผ่าตัดข้อลงไปได้มาก

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้จะลดความเจ็บปวดและลดการอักเสบ แต่ไม่สามารถยับยั้งการทำลายข้อได้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะตอบสนองต่อยาแตกต่างกันออกไป ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงทางด้านระบบทางเดินอาหารและระบบไตได้

- ถ้าโรครุนแรงมีอาการมากและข้อถูกทำลายมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ายาระดับที่ 2 ซึ่งได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทอง ยาเมทโธเทรกเซท ยาซัลฟาซาลาซีน เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับการเจ็บปวด แต่จะช่วยระงับการลุกลามของโรคได้

- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีผู้นำเอามาใช้ในการรักษาโรครูมาตอยด์เป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากยานี้มีคุณสมบัติในการระงับการอักเสบของข้อได้ แต่จากการศึกษาในระยะหลัง ๆ พบว่ายาชนิดนี้ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงการดำเนินของโรคเลย แต่เมื่อใช้ยานี้ไปนาน ๆ ผู้ป่วยจะติดยาและไม่สามารถเลิกยาได้ พร้อมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาชนิดนี้มากมาย เช่น อ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อกระจก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกผุ เป็นต้น จึงไม่ควรเป็นอย่างยิ่งในการนำยานี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ยกเว้นในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยยาชนิดอื่นแล้ว และควรดูแลควบคุมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

- ยาชีวภาพ ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการทางระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยตรง ได้แก่ enbrel, remicade, humira, kineret ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูงและออกฤทธิ์โดยตรงกว่ายากลุ่ม DMARDs แต่มีราคาสูงมาก ปัจจุบันมีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่ตอบสนองไม่ดีต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม DMARDs

การรักษาโรครูมาตอยด์ ด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เอ็นขาด เป็นต้น การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนข้อจะช่วยให้ข้อทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ในรายที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังมีข้อที่อักเสบเรื้อรังอยู่ 1-2 ข้อ ก็อาจพิจารณาผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อที่หนสตัวออก ร่วมกับการใช้ยา ในรายที่ข้อพิการไปมากแล้ว โดยเฉพาะข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า หรือข้อสะโพก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ก็อาจพิจารณาเปลี่ยนข้อเทียม ผ่าตัดแก้ไขความพิการที่เกิดขึ้น

การรักษาทางเลือก

การรักษาทางเลือกด้วย เบต้ากลูแคนมะโฮ เบต้ากลูแคนจะกระุ่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายให้ร่างกายรักษาตัวเองตามธรรมชาติ โรครูมาตอยด์เกิดจากการทำงานผิดพลาดของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดพลาด เม็ดเลือดขาวไปกัดกินตามข้อทำให้เกิดข้ออักเสบและปวดบวม เบต้ากลูแคนจะลดการอักเสบ และทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ผิดเพี้ยน ช่วงแรกๆที่ทานอาจจะปวดกว่าเดิมให้ทานยาหมอร่วมด้วยพอหายปวดแล้วจะหายปวดเลย ข้อมูลเบต้ากลูแคนเพิ่มเติมที่ www.catsmaho.com/maho-betaglucan

การรับประทานเบต้ากลูแคน และ package แนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

คอร์สรักษาโรครูมาตอยด์ แนะนำเริ่มต้น package Silver ครับ 10,000 บาท มี 4 กล่อง ห้ทานวันละ 4 ซองหรือมากกว่า แนะนำให้ทานติดต่อกันอย่างน้อย 4 เดือน หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว ให้ทานวันเว้นวัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ได้ครับ ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ครับ O84-474-4O88 คุณนนท์LINE ID: thaiog

"ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" สำหรับท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม เว็บ catsmaho.com กด Like Facebook รับของแถมส่วนลดมากมายครับ ^ ^
The administrator has disabled public write access.
Time to create page: 0.179 seconds
Powered by Kunena Forum