Welcome, Guest
Username: Password: Remember me
คอร์สรักษาโรคทางเลือกด้วย ด้วยเบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำ แชร์ประสบการณ์การใช้เบต้ากลูแคน

TOPIC: โรคพาร์กินสัน เบต้ากลูแคน มะโฮ กับการรักษาทางเลือก

โรคพาร์กินสัน เบต้ากลูแคน มะโฮ กับการรักษาทางเลือก 9 years 4 months ago #20

  • catsmaho
  • catsmaho's Avatar
  • OFFLINE
  • Administrator
  • Posts: 34
  • Karma: 0
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียก สั่นสันนิบาต หรือ สันนิบาตลูกนก โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360 โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันที่แท้จริง แต่มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป โดยพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 70-79 ปี ทั้งเพศชายและหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน อาการของผู้ป่วยโรคนี้ที่สำคัญคือ อาการสั่น อาการเกร็ง อาการเคลื่อนไหวช้า และอาการเสียการทรงตัว

อาการสั่น เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นที่ส่วนปลายคือนิ้ว มือ หรือแขนท่อนล่าง อาการเริ่มสั่นเพียงข้างเดียวก่อน เป็นอยู่นานเป็นปีก่อนข้ามมาเป็นอีกข้างหนึ่ง อาการสั่นนี้จะเป็นในขณะอยู่เฉยๆหรือนั่งนิ่งๆ และจะลดลงหรือหายไปหากผู้ป่วยมีการเคลื่อนการผ่าตัดรักษาโรคพาร์กินสันไหว และในระยะท้ายของโรคอาการสั่นจะรุนแรงมากขึ้น อาจพบมีอาการสั่นบริเวณขากรรไกร ศีรษะและเท้าด้วย
อาการเกร็ง มักพบตามลำตัวและแขนมากกว่าขา อาการแข็งเกร็งจะเป็นมากขึ้น เมื่อเคลื่อนไหวหรือขยับ และจะดีขึ้นขณะผ่อนคลายหรือหลับ สังเกตได้ว่าเวลาเดินผู้ป่วยมีการแกว่งแขนน้อยลง สีหน้าเฉยเมย กะพริบตาน้อยลง พูดเสียงเบา เดินซอยเท้า
อาการเคลื่อนไหวช้า เนื่องจากมีการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวช้าลง มีการขยับตัวน้อยกว่าคนปกติ เช่น ไม่ค่อยเกา ไม่ค่อยเปลี่ยนท่วงท่า
มีความผิดปกติของท่าทางและการทรงตัวไม่ดี ผู้ป่วยในระยะหลังๆมักมีท่าหลังงอ ไหล่ห่อ เข่าย่อลงเนื่องจากมีการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย มีการเดินไม่ถนัด ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลงหรือไม่ได้

การรักษาโรคพาร์กินสัน

1. การใช้ยา โดยทั่วไปการรักษาจะใช้ยาเป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มที่มีฤทธิ์คล้ายสารโดปามีนในสมอง กลุ่มที่เปลี่ยนเป็นสารโดปามีนในสมอง กลุ่มที่ช่วยลดการทำลายสารโดปามีนในสมอง ยาช่วยให้มีการเคลื่อนไหวกลับมาใกล้เคียงปกติ ทั้งนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้เลือกใช้และปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการและความรุนแรงของโรค แม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้ แต่ช่วยให้มีอาการดีขึ้นอย่างมากในช่วงระยะแรกของโรค อย่างไรก็ตาม หากรับประทานยาติดต่อกันนานเกิน 5 - 10 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาการตอบสนองต่อยาไม่ได้ดี แม้จะกินยาเพิ่มและบ่อยขึ้นก็ตาม

2.การผ่าตัด ขณะนี้ทั่วโลกใช้วิธี Deep Brain Stimulation พบว่าอาการสั่นลดลงถึงร้อยละ 75 การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อลดลงร้อยละ 71 การเคลื่อนไหวช้าลงร้อยละ 49 ในช่วงติดตามผลระยะ 5 ปี โดยแพทย์จะฉีดยาชาและเจาะรูเล็กที่กะโหลกศีรษะของผู้ป่วยทั้งสองข้าง แล้วสอดสายขั้วไฟฟ้าเข้าไปในสมองส่วนลึกที่เรียกว่าซับทาลามิคนิวเคลียส (Subthalamic nucleus) จากนั้นแพทย์จะดมยาให้ผู้ป่วยสลบก่อนฝังแบตเตอรี่ใต้ผิวหนังบริเวณทรวงอก และนำไปเชื่อมต่อเป็นวงจรเข้ากับขั้วไฟฟ้าที่ฝังอยู่ในสมอง กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จะช่วยแก้ไขการทำงานของสมองที่ผิดปกติไป มีผลให้อาการสั่น แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวเชื่องช้า และการทรงตัวไม่ดี ลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ ยังช่วยลดปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาให้น้อยลงหลังจากผ่าตัด ตลอดจนอาการแขนขาแกว่งที่เป็นผลแทรกซ้อนจากยาก็ลดน้อยลงไปด้วย

ผู้ที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเดิมเคยตอบสนองดีต่อยาแต่เริ่มมีปัญหาเรื่องการออกฤทธิ์ของยา หรือมีปัญหาการเคลื่อนไหวมากผิดปกติขณะที่ยาออกฤทธิ์ หรือมีอาการสั่นรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อยา ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่มีโรคทางสมองชนิดอื่น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม หรือมีโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจประเมินอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท นักจิตวิทยา และได้รับการตรวจภาพของสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ก่อนการผ่าตัดทุกราย หลังการผ่าตัด 2-4 สัปดาห์ แพทย์จะเริ่มเปิดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่สมอง และทำการปรับเครื่องกระตุ้นจนกว่าได้ขนาดการกระตุ้นที่เหมาะสมที่จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้มากที่สุด จากผลสำเร็จในการผ่าตัดสมองรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เดินหน้าเปิดศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดรักษาพาร์กินสัน แก่ประสาทศัลยแพทย์ทั้งในประเทศไทยและแถบอาเซียน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยนั่นเอง โดยความร่วมมือกับ Medtronic ซึ่งให้การสนับสนุนการอบรมและทุนวิจัย

3. การรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็ง ตลอดจน ช่วยในการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ นอกจากนี้ยังต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่มีพิษต่อสมอง เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป

การรักษาทางเลือก
การรักษาทางเลือกด้วย เบต้ากลูแคนมะโฮ เบต้ากลูแคนจะกระุ่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายให้ร่างกายรักษาตัวเองตามธรรมชาติ ฟื้นฟูระบบของร่างกายให้สมดุล ทานไปสักระยะอาการของโรคพาร์กินสัน จะค่อยๆหายไปไม่ว่าจะเป็นการการสั่น อาการเกรง การเคลื่นไหวช้า ข้อมูลเบต้ากลูแคนเพิ่มเติมที่นี่

ตัวอย่างผู้ป่วยโรคพาร์กกินสัน รักษาโดยใช้เบต้ากลูแคนในการรักษาทางเลือก คลิ๊ก

การรับประทานเบต้ากลูแคน และ package แนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

คอร์สรักษาโรคพาร์กินสัน แนะนำเริ่มต้น package Silver ครับ 10,000 บาท มี 4 กล่อง พากินสัน ให้ทานวันละ 4 ซองหรือมากกว่า แนะนำให้ทานติดต่อกันอย่างน้อย 4 เดือน หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว ให้ทานวันเว้นวัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ได้ครับ ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ครับ O84-474-4O88 คุณนนท์LINE ID: thaiog

"ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" สำหรับท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม เว็บ catsmaho.com กด Like Facebook รับของแถมส่วนลดมากมายครับ ^ ^
The administrator has disabled public write access.
Time to create page: 0.167 seconds
Powered by Kunena Forum